เราเป็นสะพานให้นักเล่าเรื่องทั่วโลกด้วยเสียงภาษาต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมทุกคนเข้าถึงความสนุกผ่านนวัตกรรมและความซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับ
การแปล/การดัดแปลง
- ภาษาพูด
- เราต้องการให้ผู้ชมของเราเข้าถึงเนื้อหาที่กำลังรับชม และได้รับสารตรงตามความตั้งใจเดิมของเวอร์ชันต้นฉบับ (OV) เราแนะนำให้นักแปลบทพากย์ใช้ภาษาพูดหากเหมาะสมกับคอนเทนต์นั้น เว้นแต่คอนเทนต์นั้นจะเป็นคอนเทนต์พีเรียด หรือการใช้ภาษาในเวอร์ชันต้นฉบับต่างจากวิธีที่คนพูดในปัจจุบัน
- การเซ็นเซอร์
- ภารกิจของเราในการสร้างเวอร์ชันเสียงพากย์คือการเคารพเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ของต้นฉบับให้มากที่สุด บทสนทนา (รวมถึงคำสบถ) ควรแปลออกมาให้ตรงตามต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ใช้ภาษาถิ่นหรือคำที่อาจแสดงระดับความหยาบคายที่ไม่ได้ปรากฏในเนื้อหา เราไม่สนับสนุนให้ผู้ดัดแปลงบทพากย์ลดทอนระดับคำด่าหรือคำหยาบให้รุนแรงน้อยกว่าที่ใช้ในเวอร์ชันต้นฉบับหรือเซ็นเซอร์คำเหล่านั้น (โดยต้องปฏิบัติตาม/เคารพกฎหมายท้องถิ่นด้วย)
- การลิปซิงค์และเจตนารมณ์
- การลิปซิงค์ที่แม่นยำคือเป้าหมายที่เราอยากให้ partner การพากย์ของเรายึดถือไว้เสมอ แต่ทั้งนี้เราไม่ต้องการให้ข้อความและเจตนารมณ์ของเวอร์ชันต้นฉบับต้องเสียไปเพราะให้ความสำคัญกับการลิปซิงค์ที่แม่นยำ เพราะสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดคือความตั้งใจเดิมของบทสนทนา และเราขอให้นักแปล/นักดัดแปลงบทพากย์ตัดสินใจจากความชำนาญในกรณีที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ทั้งสองอย่าง
- คำศัพท์ที่ละเอียดอ่อนและแสดงการยอมรับในความหลากหลาย
- การยอมรับในความหลากหลาย (Inclusion and Diversity หรือ “I&D”) เป็นเรื่องที่ Netflix ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และแม้ว่าเราจะมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่เรายังต้องเรียนรู้ว่าจะสื่อสารความต้องการและความคาดหวังของเรากับชุมชนการพากย์ให้ดีขึ้นได้อย่างไร เมื่อมีหัวข้อเรื่องการยอมรับในความหลากหลายปรากฏอยู่ในคอนเทนต์ของเรา ทีมพากย์ของ Netflix จะแนะนำแนวทางและให้การช่วยเหลือ เพื่อให้แน่ใจว่าเรานำเสนอตัวละครต้นฉบับอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ทรัพย์สินทางปัญญาและแฟรนไชส์ที่มีมาก่อน
- เนื้อหาทางทีวีบางรายการได้สร้างหรือกำลังจะสร้างจากทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property หรือ “IP”) ที่มีมาก่อน ซึ่งผ่านการแปลมาแล้วในคอนเทนต์รูปแบบอื่น (วิดีโอเกม หนังสือ) ทีมพากย์จะกำหนดว่าควรใช้แหล่งข้อมูลใดเป็นตัวอย่างอ้างอิงหลักเพื่อให้บทแปลสอดคล้องกันทั้งหมด
- การค้นคว้า
- ภาพยนตร์และซีรีส์บางเรื่องของเราใช้คำศัพท์เฉพาะสำหรับหัวข้อนั้นๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับภาษาในชีวิตประจำวัน เราแนะนำอย่างยิ่งว่านักแปลและนักดัดแปลงที่ทำงานกับคอนเทนต์นั้นๆ ควรมีความรู้/ประสบการณ์ด้านนั้นๆ และ/หรือค้นคว้าอย่างละเอียด เพื่อรักษาระดับการใช้คำพูดในเวอร์ชันพากย์เสียงให้อยู่ในระดับเดียวกัน โปรดติดต่อทีมพากย์ท้องถิ่นเพื่อร่วมมือและแบ่งปันความรู้และบริบทเพื่อให้ได้บทพากย์ที่ดีที่สุด
การคัดเลือกเสียงและการแสดง
- Creative Director
- เราต้องการให้ partner สตูดิโอของเราเลือกทีมงาน creative อย่างรอบคอบเช่นเดียวกับที่ผู้สร้างทำในเวอร์ชันต้นฉบับ คุณควรเลือกและจ้างนักแปล นักดัดแปลง ผู้กำกับ ฯลฯ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติและความชำนาญในภาพยนตร์/ซีรีส์ที่ตรงกับแนวหรือหัวข้อนั้นๆ เราทราบดีว่าเรื่องนี้อาจทำให้ตารางงาน production ต้องล่าช้า ดังนั้นโปรดติดต่อ Netflix เพื่อประเมินความยืดหยุ่นของวันทำงานตามความจำเป็น
- เราต้องการให้มีการดูแล/แนะนำแนวทางด้านงาน creative ระหว่างเซสชันการบันทึกการคัดเลือกเสียง ตามหลักการแล้วผู้กำกับการพากย์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเนื้อหานั้นๆ ควรจะต้องอยู่ด้วยในระหว่างการบันทึกเสียง แต่หากไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลเรื่องตารางเวลาที่ชนกันหรือสถานการณ์อื่นๆ เราขอให้ partner การพากย์ของเรามอบหมายให้ Creative Director ดูแลการบันทึกการคัดเลือกเสียงและไม่ปล่อยให้วิศวกรเสียงหรือเจ้าหน้าที่สตูดิโอเป็นผู้กำกับการอัดเสียง
- อายุและเพศ
- การคัดเลือกผู้ให้เสียงพากย์สำหรับเวอร์ชันพากย์เสียงควรเป็นไปตามเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ของต้นฉบับ และมอบประสบการณ์การรับชมที่สมจริงและถูกต้องให้แก่ผู้ชม โปรดพยายามอย่างเต็มที่ในการคัดเลือก talent ที่เข้าใจภูมิหลังและปัญหาของตัวละคร โปรดสำรวจรายชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเลือกจากความต้องการด้าน creative และคุณภาพการแสดง
- เสียงที่ตรงกันและการแสดง
- การได้นักพากย์ที่มีคุณสมบัติพร้อมทั้งด้านการแสดงและมีเสียงที่ตรงกันนั้นย่อมดีที่สุด แต่บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ เสียงที่ตรงกันนั้นสำคัญก็จริง แต่การสร้างประสบการณ์สมจริงสำหรับผู้ชมคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เราให้ความสำคัญกับการแสดงที่ดีที่สุดมาก่อนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดให้แก่ผู้ชม เว้นเสียแต่ว่าจำเป็นต้องใช้เสียงที่ตรงกันเพราะการใช้สื่อจากเวอร์ชันต้นฉบับ ในกรณีเช่นนี้ทีมพากย์ของ Netflix จะให้คำแนะนำแก่ผู้กำกับการพากย์และ partner ตามความจำเป็น
- ละครเพลง
- ในส่วนของคอนเทนต์ที่จำเป็นต้องพากย์เสียงร้องด้วยนั้น ตามหลักการแล้วนักพากย์คนนั้นต้องสามารถร้องเพลงได้ด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อนักพากย์ไม่สามารถร้องเพลงได้ แนวทางของเราคือคัดเลือกนักร้องที่มีเสียงเข้ากับเสียงของนักพากย์ เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงบทพากย์กับเสียงเพลงนั้นไปด้วยกันได้
- การออกเสียงและการพากย์
- เราอยากให้บทสนทนาทั้งหมดสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจนเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่เราก็ไม่ต้องการให้สิ่งนี้กระทบการพากย์ของนักพากย์ ดังนั้นแม้นักพากย์จะออกเสียงได้ไม่สมบูรณ์นักขณะอัด sequence แอ็คชั่น/ตึงเครียด หรือการปล่อยเสียงเงียบใน sequence ที่เงียบและลึกซึ้งนั้นถือว่ายอมรับได้ การออกเสียงควรเป็นธรรมชาติที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการพากย์ควรตรงกับการแสดงของ on-screen talent
- การพากย์อิงสำเนียงควรทำต่อเมื่อมีผลต่อโครงเรื่อง ตัวละคร หรือบทสนทนา/อารมณ์ขันเท่านั้น สำเนียงที่ใช้พากย์ควรเหมือนสำเนียงจริงที่นักแสดงต้นฉบับพูด ในกรณีเหล่านี้ คุณสามารถติดต่อทีมพากย์ของ Netflix เพื่อขอคำชี้แจงเพิ่มเติมได้หากจำเป็น
การบันทึกเสียง
- พรีแอมป์
- โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าพรีแอมป์ที่ใช้อัดเสียงนั้นคุณภาพสูง ไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่สามารถได้ยินได้หรือกระทบคุณภาพเสียงมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อเพิ่ม gain ไปยังระดับการบันทึกเสียงที่ต้องการหรือเมื่อบันทึกเสียงดัง
- ไมโครโฟน
- เราแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์แบบ large-diaphragm สำหรับการขยับปากลิปซิงค์ (lip-sync animation) เสียงต้นฉบับจะบันทึกในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม เช่น เวทีเสียง และมักใช้ไมโครโฟนประเภทนี้ ดังนั้นเราจึงต้องการให้เสียงในเวอร์ชันพากย์เสียงใกล้เคียงกับเวอร์ชันต้นฉบับให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราต้องอาศัยความชำนาญด้านเทคนิคของวิศวกรด้านการบันทึกเสียงและช่างเทคนิคในการวางตำแหน่งไมโครโฟนเหล่านี้ให้อยู่ในตำแหน่งที่พอดีและมีระยะห่างจากปากนักพากย์อย่างเหมาะสม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูคำแนะนำเกี่ยวกับการบันทึกเสียงบทสนทนาท้ายเอกสารนี้
- DAW
- คุณสามารถใช้ DAW (digital audio workstation) สำหรับมืออาชีพรุ่นใดก็ได้ในท้องตลาด เราคาดหวังให้ partner การพากย์ของเราใช้ซอฟต์แวร์สำหรับมืออาชีพที่เหมาะสมกับขั้นตอนการทำงานของ partner และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านเทคนิค
- การประมวลผลก่อนการบันทึกเสียง
- เราแนะนำอย่างยิ่งว่าอย่าใช้ dynamic processor (EQ, Compression, Limiting, Noise-gate, De-Esser) ในการบันทึกเสียงเพื่อให้สามารถจับเสียงบทสนทนาได้สะอาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และมีพื้นที่ให้ sound mixer สามารถปรับแต่งเสียงได้ตามความจำเป็น คุณสามารถใช้ฟิลเตอร์ Low cut ได้หากไม่เกิน 100Hz
- บันทึกเสียงกลุ่มคน (walla)/กลุ่ม
- เราคาดหวังให้การพากย์ในเวอร์ชันเสียงพากย์ตรงกับการออกแบบเสียงฝูงชน/กลุ่มคนในเวอร์ชันต้นฉบับ Netflix จะทำงานร่วมกับ Post-production เพื่อให้มีการบันทึกเสียงกลุ่มคน (walla) และการอัดเสียงนักแสดงเป็นกลุ่ม (Loop Group) จากเวอร์ชันต้นฉบับให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่เราก็คาดหวังให้สตูดิโอทุกแห่งสร้างเสียง layer เดียวกันไม่ว่าจะใช้ element ต้นฉบับหรือไม่ก็ตาม
การตัดต่อ
- เสียง
- คุณควรลบเสียงที่สามารถได้ยินได้ เช่น เสียงเดาะลิ้นและเสียงกลืนน้ำลาย ในขั้นตอนการตัดต่อ เว้นเสียแต่มีเสียงเหล่านี้ในการแสดงเวอร์ชันต้นฉบับ
- การปรับด้วยตนเองและการใช้ plug-in
- เราแนะนำให้ใช้ทั้งสองวิธี คุณสามารถใช้ plug-in กำจัดเสียงรบกวนได้ตราบใดที่กระบวนการนี้ไม่กระทบกับคุณภาพของเสียงที่บันทึก
- การลิปซิงค์
- เราแนะนำให้ตัดต่อโดยดูจากภาพอ้างอิงด้วย ไม่ใช่แค่รูปคลื่นเสียงเพียงอย่างเดียว เราต้องการให้ผู้ชมได้ประสบการณ์การรับชมคอนเทนต์ในภาษาของตนเสมือนรับชมเวอร์ชันต้นฉบับ ดังนั้นบทสนทนาควรเริ่มเมื่อนักแสดง on-screen ขยับ/อ้าปากและควรจบเมื่อปากปิด นอกจากนี้ควรระวังเรื่องการขยับริมฝีปาก/รูปร่างของปาก และท่าทาง/การเคลื่อนไหวของนักแสดง on-screen ด้วย เพื่อให้บทสนทนาตรงกับลักษณะทางกายภาพและเป็นหนึ่งเดียวกับการแสดง
- บทสนทนา off-screen
- สำหรับบทสนทนา off-screen ที่สามารถได้ยินได้นั้น เราแนะนำว่ารูปคลื่นเสียงของเวอร์ชันต้นฉบับกับเวอร์ชันพากย์เสียงจะต้องตรงกัน และเนื่องจากมี element ของเสียงแบบอื่นด้วย (Music หรือ SFX) เราจึงต้องให้เวอร์ชันพากย์เสียงมีพื้นที่ในการออกแบบเสียงที่จะมีบทบาทต่อการเล่าเรื่องด้วย
- ลมหายใจและปฏิกิริยา
- เราขอให้ dialogue editor ยึดตาม stem ของบทสนทนาต้นฉบับเพื่อให้การหายใจและปฏิกิริยาที่ปรากฏตรงกัน
- เสียงไล่ระดับ
- ตามหลักการแล้ว dialogue editor ควรใช้การ fade-in และ fade-out ในทุกบทสนทนา เสียงที่จับได้ เช่น เสียงสภาพบรรยากาศของห้องหรือ pre-amp gain อาจจะไม่ได้ยินในระหว่างขั้นตอนการบันทึกและตัดต่อ แต่อาจกลายเป็นเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์ในระหว่างกระบวนการมิกซ์เสียง
- การกำหนดแทร็ค
- sound editor ควรกำหนดแทร็คอย่างเป็นระเบียบเพื่อให้ sound mixer สามารถเริ่มทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา
การมิกซ์
- ระดับของบทสนทนา
- ระดับเสียงของเวอร์ชันพากย์เสียงควรตรงกับระดับเสียงของเวอร์ชันต้นฉบับ หากปฏิบัติตามแนวทางการบันทึกและการตัดต่อ sound mixer จะไม่จำเป็นต้องเพิ่มเสียงบทสนทนาที่พากย์ให้ดังกว่าเวอร์ชันต้นฉบับ เพื่อให้บทสนทนามีความสม่ำเสมอและสมดุล เราแนะนำให้ sound mixer ใช้ตัวควบคุมการมิกซ์เสียง (mixing controller) หรือคอนโซลสำหรับการปรับระดับอัตโนมัติแทนการใช้ตัวประมวลผลแบบไดนามิกใดๆ ที่อาจส่งผลต่อเสียงตามธรรมชาติที่เราต้องการ
- การประมวลผลแบบไดนามิก
- EQ
-
- การปรับเสียงคือวิธีการกำจัดหรือทำให้คลื่นความถี่ที่ไม่ต้องการเบาลง และ/หรือเพิ่มคลื่นความถี่ที่ต้องการในบทสนทนา เราไม่ควรมองว่าการปรับเสียงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ทดแทนการบันทึกเสียงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนั้นเราจึงขอให้ sound mixer ไม่ใช้การปรับเสียงเพื่อวัตถุประสงค์นี้มากจนเกินไป
-
- การ Compress
-
- การ Compress นั้นสามารถทำได้ตราบใดที่ไม่กระทบกับไดนามิกของบทสนทนามากนัก สิ่งที่เราต้องการคือให้บทสนทนาฟังดูเป็นธรรมชาติ และเราขอแนะนำให้ sound mixer ปรับระดับให้สมดุลกับระบบเสียงอัตโนมัติก่อนใช้วิธีการ Compress
-
- Futz
-
- เมื่อทีมพากย์ของ Netflix ไม่สามารถให้ข้อกำหนดหรือพารามิเตอร์ของ plug-in ได้ เราก็หวังว่า sound mixer จะสามารถมิกซ์ futz ได้ใกล้เคียงกับเวอร์ชันต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้สร้างภาพยนตร์ทำงานกับนักออกแบบเสียงอย่างใกล้ชิดเพื่อสร้าง land-space ของเสียงสำหรับคอนเทนต์ และเราต้องการให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์เดียวกันในทุกภาษา
-
- EQ
- การประมวลผลเวลา
- รีเวิร์บและดีเลย์
-
- จุดประสงค์ของรีเวิร์บและดีเลย์คือเพื่อเป็นตัวอย่างอ้างอิงเกี่ยวกับเสียงให้ผู้ชมรู้ว่าตัวละครอยู่ตำแหน่งใดและมีปฏิสัมพันธ์กันที่ไหน หากทีมพากย์ของ Netflix ไม่สามารถให้ข้อกำหนดหรือพารามิเตอร์ของ plug-in ได้ เราขอแนะนำให้ sound mixer จัดพื้นที่ให้ใกล้เคียงกับเวอร์ชันต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่สมจริง คุณสามารถใช้ plug-in หรือฮาร์ดแวร์สำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ตราบใดที่มันช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมาย
-
- รีเวิร์บและดีเลย์
- การแพนและทัศนมิติ (Perspective)
- ทีมพากย์ของ Netflix จะจัดหา stem ของบทสนทนาเวอร์ชันต้นฉบับให้กับ partner การพากย์ของเราเมื่อได้รับจาก partner ด้านคอนเทนต์ เราขอแนะนำให้ sound mixer ใช้ stem ของบทสนทนาเหล่านี้เป็นตัวอย่างอ้างอิงของเสียงสำหรับการแพน เมื่อการแพนและทัศนมิติไม่ชัดเจนพอสำหรับการอัดสำเนาเสียงใน full mix
- M&E
- แทร็ค M&E ที่เราจัดหาให้ partner การพากย์นั้นผ่านการอนุมัติและควบคุมคุณภาพสำหรับการมิกซ์เพื่อพากย์แล้ว เราแนะนำให้ mixer เสียงพากย์อย่าเปลี่ยนแปลงหรือปรับเสียงใดๆ ระหว่างการมิกซ์ หากแทร็ค M&E ที่จัดหาให้มีปัญหา โปรดแจ้งทีมพากย์ของ Netflix เพื่อขอคำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป
- Optional track
- Optional track มักมีเสียงของปฏิกิริยา เสียงเรียก ภาษาต่างประเทศ และบันทึกเสียงกลุ่มคน (walla) เราแนะนำให้ partner การพากย์ของเราใช้ optional track ตามดุลยพินิจ ตราบใดที่บทสนทนาที่บันทึกไว้สามารถผสมผสานกับ optional track ที่จัดหาให้ได้อย่างแนบเนียน ทีมพากย์ของ Netflix จะมีคำสั่งชี้แนะด้าน creative และด้านเทคนิคให้ในกรณีที่ควรใช้ optional track เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ
แหล่งข้อมูล