Welcome to the Netflix Partner Help Center. Have a question or need help with an issue? Send us a ticket and we'll help you to a resolution.

คำนำ

 

Netflix มองว่าการพากย์ไม่ได้เป็นเพียง asset ทางภาษา แต่ถือเป็นงาน production อย่างหนึ่ง เพื่อไปสู่ความเป็นเลิศด้าน creative ระดับสูงสุด เราขอให้คุณทุ่มเทมากกว่าการทำงานพากย์ทั่วไป เป้าหมายคือการทำให้ content creator ของเราเชื่อมั่น โดยการทำให้เวอร์ชันภาษาต่างๆ ใกล้เคียงกับเวอร์ชันต้นฉบับมากที่สุด และทำให้ผู้ชมของเราเชื่อถือโดยการมอบประสบการณ์การรับชมที่ลื่นไหล ซึ่งจะทำให้ผู้ชม "ไม่รู้สึกกังขาในเรื่องภาษา"

 

ความเป็นเลิศด้าน creative ระดับสูงสุดในการพากย์ของ Netflix มาจาก:

  • ความเข้าใจด้านบริบทของเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ของเนื้อหาต้นฉบับ
  • การนำเสนอที่เหมาะสมในแง่ของความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการรวมทุกแง่มุมในขั้นตอนการทำงานของเรา
  • การใช้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติในบทสนทนาที่ดัดแปลง เพื่อให้เป็นไปตามวิถีของภาษาปลายทาง
  • การลิปซิงค์ที่มีความแม่นยำสูง
  • การพากย์เสียงที่สมจริง
  • การมิกซ์บทสนทนาอย่างแนบเนียนกับซาวด์แทร็กต้นฉบับ

ต่อไปนี้เป็นหลักการแนวทางโดยรวมสำหรับผู้ที่มีบทบาทหลักในงาน creative ในขั้นตอนการทำงานการพากย์

แนวทางด้าน creative สำหรับประเภทของคอนเทนต์/คอนเทนต์แบบเวอร์ติคอล ภาพรวมการพากย์ของ Netflix เรื่องราวและประวัติย่อของอุตสาหกรรมการพากย์

 

ผู้กำกับการพากย์

 

หลักการแนวทาง:

ผู้กำกับการพากย์หรือผู้กำกับศิลป์เป็นเสมือนกัปตันเรือและมีหน้าที่รับผิดชอบความสำเร็จโดยรวมของโปรเจกต์ เมื่อทำงานร่วมกับ editor และ mixer พวกเขาจะได้ยินทุกคำที่บันทึกไว้ และเป้าหมายของพวกเขาคือเพื่อสร้างเสียงพากย์ที่ฟังดูกลมกลืน สมจริง และชัดเจน จุดมุ่งหมายของผู้กำกับการพากย์คือการส่งมอบเสียงพากย์ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ทางศิลปะของ content creator ต้นฉบับให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเสียงพากย์ต้องฟังดูสมจริงที่สุดสำหรับผู้ชมในประเทศนั้นๆ ผ่านการตรวจสอบบทดัดแปลง, การคัดเลือกนักพากย์, หมายเหตุการแสดง, การพากย์ซ้ำ (pick-up), และการมิกซ์รีวิว

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ผู้กำกับควรสื่อสารเป้าหมายที่ต้องการอย่างชัดเจนกับผู้ดัดแปลง, Casting Director (หากมีงบในส่วนนี้), นักพากย์, mixer และผู้จัดการโปรเจกต์ของ partner 
  • ผู้กำกับควรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันที่เป็นบวก ซึ่งจะทำให้สมาชิกทุกคนในทีมรู้สึกมีพลังที่จะทำงานให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของโปรเจกต์
  • ผู้กำกับควรทราบไทม์ไลน์และงบประมาณของโปรเจกต์อยู่เสมอ รวมถึงการจดหมายเหตุเรื่องการอัดเสียงนักแสดง/คำต่อชั่วโมง การคัดเลือกและการกำหนดเวลาสำหรับงานจิปาถะต่างๆ และตรวจสอบการพากย์ซ้ำตามที่มีการร้องขอ
  • ผู้กำกับควรจัดทำบัญชีบทสนทนาที่เขียนใหม่ให้ถูกต้องเพื่อทบทวนและวิเคราะห์หลังจบโปรเจกต์ โดยจะต้องประสานงานร่วมกับสตูดิโอในส่วนนี้
  • ก่อนการอัดเสียง ผู้กำกับ ผู้ดัดแปลง และ Language Production Manager ของ Netflix (สำหรับบางโปรเจกต์) ควรมีการซ้อมพากย์สด (live read-through) บทถ่ายทำที่ดัดแปลงแล้วทุกครั้งหากเป็นไปได้ (สำหรับซีรีส์ ให้ทำเฉพาะตอนแรกเท่านั้น)
  • ระหว่างไทม์ไลน์การบันทึกเสียงจะเป็นช่วงเวลาที่มีการเขียนบทถ่ายทำใหม่ ผู้กำกับควรให้คำติชมกับผู้ดัดแปลงในระหว่างนั้นด้วย
  • หลังจากบันทึกเสียงฉากแรกๆ หรือตอนแรกๆ ที่ตัวละครและน้ำเสียงโดยรวมเริ่มลงตัวแล้ว ผู้กำกับควรทบทวนการพากย์และพิจารณาว่าจะต้องกลับไปดูอีกครั้ง/บันทึกเสียงใหม่หรือไม่

การดัดแปลง

 

หลักการแนวทาง:

การดัดแปลงที่แม่นยำนั้นมีความสำคัญเท่ากับผู้กำกับการพากย์หรือผู้กำกับศิลป์ เพราะหากดัดแปลงได้ไม่ดี ก็จะต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมขณะทำงานในสตูดิโอซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และการนำเสนอวัฒนธรรมที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ชมร้องเรียนและได้รับความสนใจจากสื่อในทางลบ

ผู้ดัดแปลงมีหน้าที่สร้างบทสนทนาที่:

  • เคารพเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ของต้นฉบับ 
  • เคารพและดัดแปลงการอ้างอิงทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างเหมาะสม (หากจำเป็น)
  • ซิงค์ได้ใกล้เคียงกับคำว่า "สมบูรณ์แบบ" มากที่สุด (ยกเว้นการพากย์แบบ voice-over)
  • ฟังดูเป็นธรรมชาติในภาษาปลายทางทั้งการใช้คำและสำนวน

 

การคัดเลือก

 

หลักการแนวทาง:

เสียงที่ตรงกับเสียงของ On-Screen Talent อาจไม่ใช่เป้าหมายหลักของการคัดเลือกที่ดีเสมอไป เพราะความดังของเสียง ระดับเสียง การออกเสียง และอารมณ์อาจต่างกันมากในแต่ละภาษา ดังนั้นจึงควรคัดเลือกเสียงที่เหมาะสมกับตัวละครและสอดคล้องกับความคาดหวังเฉพาะของผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ช่วงระดับเสียงสูงต่ำของตัวละครในภาษาหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ในอีกภาษาหนึ่ง)

 

เนื่องจากกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคล ผู้กำกับการพากย์ควรเป็นผู้คัดเลือกนักพากย์แต่เพียงผู้เดียว หรือในกรณีที่เนื้อหาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การตัดสินใจคัดเลือกควรเป็นไปตามแนวทางของทีม creative ต้นฉบับ และ/หรือร่วมกับ language production manager ของ Netflix และควรให้ความสำคัญกับการนำเสนออัตลักษณ์ที่สมจริงด้วย ในกรณีที่เป็นตัวละครอายุน้อย Netflix ต้องการให้ใช้นักพากย์ที่มีอายุที่เหมาะสม แต่ก็เข้าใจได้ว่าในบางตลาดอาจไม่สามารถทำได้

 

การพากย์เสียง

 

หลักการแนวทาง:

การพากย์เสียงที่ดีสำหรับงานพากย์นั้นต้องใช้ทักษะเฉพาะตัว เพราะการพากย์เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสังเกตเห็น แต่จะแนบเนียนไปกับการแสดงบนหน้าจอโดยไม่ทำให้รู้สึกสะดุด ด้วยเหตุนี้งานของนักพากย์จึงเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการสวมบทบาทของตัวละครบนหน้าจอได้อย่างน่าเชื่อถือจากภายใน (ผ่านการเข้าใจแรงจูงใจและเรื่องราวภูมิหลังของตัวละครอย่างลึกซึ้ง) และการรู้จักสังเกตพฤติกรรมทางกายภาพบนหน้าจอของตัวละครจากภายนอก ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงแค่การลิปซิงค์

 

การซิงค์ที่ดีไม่ได้เป็นเรื่องของการขยับปากเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงการใช้ร่างกายทั้งหมดโดยเฉพาะการหายใจ ในกรณีของสารคดีและคอนเทนต์ที่ไม่มีสคริปต์ แม้การซิงค์จะไม่ใช่ปัญหา แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ของเนื้อหานั้นๆ อย่างเหมาะสมด้วย เพื่อให้การพากย์แบบ voice-over (VO) ช่วยยกระดับประสบการณ์ของผู้ชม แทนที่จะเป็นเพียงการพากย์บทแปลเท่านั้น

 

คำแนะนำเพิ่มเติม:

  • หลังจากลงนามในสัญญาไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA) แล้ว นักพากย์ควรได้สิทธิ์ในการเข้าถึงวิดีโอและบทถ่ายทำที่ดัดแปลงแล้ว และหากเป็นไปได้พวกเขาควรได้รับสิทธิ์ดังกล่าวก่อนเริ่มเซสชันเพื่อที่จะได้สามารถเตรียมตัวและแสดงในสตูดิโอได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะยิ่งคุณประหยัดเวลาในการอธิบายได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งมีเวลาในการบันทึกเสียงมากขึ้นเท่านั้น
  • นักพากย์ควรขยับตัวในบูธเพื่อเปลี่ยนมุมของไมโครโฟนตามการแสดงบนหน้าจอ (ตราบเท่าที่สามารถบันทึกความดังของเสียงได้เพียงพอ) ข้อนี้จะใช้กับการพากย์แบบลิปซิงค์เท่านั้น ไม่ใช่การพากย์แบบ voice-over (VO)
  • สำหรับซีรีส์ ถ้าเป็นไปได้ผู้กำกับควรตรวจสอบ pre-mix ของตอนที่ 1 ก่อนเพื่อกำหนดน้ำเสียงของตอนต่อไป

 

การมิกซ์

 

หลักการแนวทาง:

เป้าหมายของการมิกซ์ที่ดีคือการทำให้บทสนทนาที่พากย์นั้นฟังใกล้เคียงกับบทสนทนาในงาน production มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากบทสนทนาที่พากย์นั้นใช้วิธีการบันทึกที่แตกต่างจากบทสนทนาในงาน production (ยกเว้น ADR) คุณจึงจำเป็นต้องผสมผสานบทสนทนาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและสุนทรียภาพของคอนเทนต์อย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ฟังดู "โดดออกมา" หรือ "นำ" มิกซ์ต้นฉบับ ในฐานะที่เป็นการทำงานในขั้นตอนสุดท้าย การมิกซ์ที่ไม่ดีอาจลดทอนประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างสรรค์ในทุกขั้นตอน

 

แนวทางและคำแนะนำสำหรับประเภทคอนเทนต์/คอนเทนต์แบบเวอร์ติคอล

แหล่งข้อมูล

 

Was this article helpful?
1 out of 1 found this helpful