เราเป็นสะพานให้นักเล่าเรื่องทั่วโลกด้วยเสียงภาษาต่างๆ เพื่อให้ผู้ชมทุกคนเข้าถึงความสนุกผ่านนวัตกรรมและความซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับ
การแปล/การดัดแปลง
-
- ภาษาพูด
-
- เราต้องการให้ผู้ชมของเราเข้าถึงเนื้อหาที่กำลังรับชม และได้รับสารตรงตามความตั้งใจเดิมของเวอร์ชันต้นฉบับ (OV) เราแนะนำให้นักแปลบทพากย์ใช้ภาษาพูดหากเหมาะสมกับคอนเทนต์นั้น เว้นแต่คอนเทนต์นั้นจะเป็นคอนเทนต์พีเรียด หรือการใช้ภาษาในเวอร์ชันต้นฉบับต่างจากวิธีที่คนพูดในปัจจุบัน
-
- ภาษาพูด
- การเซ็นเซอร์
- ภารกิจของเราในการสร้างเวอร์ชันเสียงพากย์คือการเคารพเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์ของต้นฉบับให้มากที่สุด บทสนทนา (รวมถึงคำสบถ) ควรแปลออกมาให้ตรงตามต้นฉบับมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่ใช้ภาษาถิ่นหรือคำที่อาจแสดงระดับความหยาบคายที่ไม่ได้ปรากฏในเนื้อหา เราไม่สนับสนุนให้ผู้ดัดแปลงบทพากย์ลดทอนระดับคำด่าหรือคำหยาบให้รุนแรงน้อยกว่าที่ใช้ในเวอร์ชันต้นฉบับหรือเซ็นเซอร์คำเหล่านั้น (โดยต้องปฏิบัติตาม/เคารพกฎหมายท้องถิ่นด้วย)
- หากมีเสียงปี๊บๆ: แปลคำสบถที่ถูกเซ็นเซอร์ให้หยาบคายน้อยลง ไม่ต้องเดาว่าคำสบถที่ใช้คือคำว่าอะไร (ดูการมิกซ์: ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับเสียงปี๊บๆ สำหรับการมิกซ์)
- คำศัพท์ที่ละเอียดอ่อนและแสดงการยอมรับในความหลากหลาย
- การยอมรับในความหลากหลาย (Inclusion and Diversity หรือ “I&D”) เป็นเรื่องที่ Netflix ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ และแม้ว่าเราจะมีความก้าวหน้าในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่เรายังต้องเรียนรู้ว่าจะสื่อสารความต้องการและความคาดหวังของเรากับชุมชนการพากย์ให้ดีขึ้นได้อย่างไร เมื่อมีหัวข้อเรื่องการยอมรับในความหลากหลายปรากฏอยู่ในคอนเทนต์ของเรา ทีมพากย์ของ Netflix จะแนะนำแนวทางและให้การช่วยเหลือเพื่อให้แน่ใจว่าเราเคารพผู้ชมของเรา
- ทรัพย์สินทางปัญญาและแฟรนไชส์ที่มีมาก่อน
- เนื้อหาทางทีวีบางรายการได้สร้างหรือกำลังจะสร้างจากทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property หรือ “IP”) ที่มีมาก่อน ซึ่งผ่านการแปลมาแล้วในคอนเทนต์รูปแบบอื่น (วิดีโอเกม หนังสือ) สำหรับไตเติ้ลบางเรื่อง ทีมพากย์จะกำหนดว่าควรใช้แหล่งข้อมูลใดเป็นตัวอย่างอ้างอิงหลักเพื่อให้บทแปลสอดคล้องกันทั้งหมด สำหรับไตเติ้ลที่เราไม่ได้ให้ตัวอย่างอ้างอิงหรือแนวทาง เราคาดหวังให้ partner ทำการค้นคว้าเชิงรุก และกำหนดว่าสิ่งใดเหมาะสมกับคอนเทนต์ในแต่ละภาษาที่สุด
- การค้นคว้า
- สารคดีและคอนเทนต์ที่ไม่มีสคริปต์ของเราจำนวนมากใช้คำศัพท์เฉพาะสำหรับหัวข้อนั้นๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับภาษาในชีวิตประจำวัน เราแนะนำอย่างยิ่งว่านักแปลและนักดัดแปลงที่ทำงานกับคอนเทนต์นั้นๆ ควรมีความรู้/ประสบการณ์ด้านนั้นๆ และ/หรือค้นคว้าอย่างละเอียด เพื่อรักษาระดับการใช้คำพูดในเวอร์ชันพากย์เสียงให้อยู่ในระดับเดียวกัน โปรดติดต่อทีมพากย์ท้องถิ่นเพื่อร่วมมือและแบ่งปันความรู้และบริบทเพื่อให้ได้บทพากย์ที่ดีที่สุด
- ไฟล์วิดีโอต้นฉบับ
- โดยทั่วไปคุณไม่ควรพากย์เสียงในไฟล์วิดีโอต้นฉบับ แต่ควรใช้ forced narrative เพื่อรักษาความถูกต้อง ความสมบูรณ์ และเจตนารมณ์ทางประวัติศาสตร์ของคอนเทนต์ต้นฉบับที่เก็บถาวร
- สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และถูกบันทึกไว้นอกเหนือจากตัวภาพยนตร์/ซีรีส์นั้นมักจะถือว่าเป็นไฟล์ในคลัง ตัวอย่างของไฟล์ในคลังที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ บันทึกเสียงคำสารภาพ/โทรศัพท์, คลิปภาพข่าวในโทรทัศน์, คลิปภาพในศาล, สุนทรพจน์ของนักการเมืองหรือนักเคลื่อนไหว และทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ หากไม่แน่ใจว่าข้อความ/ฉากไหนเป็นไฟล์ในคลัง โปรดขอคำแนะนำจากตัวแทน Netflix ของคุณ
- การจัดการไฟล์ในคลังนั้นต่างกันไปในแต่ละภาษา ประเทศของคุณอาจต้องการให้พากย์เสียงไฟล์ในคลังมากกว่า โดยเฉพาะหากเปอร์เซ็นต์ของไฟล์ในคลังมีสูงจนอาจทำให้ประสบการณ์ในการรับชมขาดตอน (มี forced narrative ให้อ่านมากเกินไป) อย่าลืมว่าแต่ละเนื้อหานั้นไม่เหมือนกัน และตัวแทนของ Netflix อาจขอให้คุณจัดการแต่ละไตเติ้ลต่างกัน
- การจัดการดนตรี/เพลง
- เพลงควรแปลและอยู่ในไฟล์ forced narrative (ไม่ใช่ที่พากย์) เฉพาะในกรณีที่เพลงเกี่ยวข้องกับโครงเรื่องและได้รับลิขสิทธิ์แล้วเท่านั้น เช่น "Wild Wild Country" โปรดขออนุญาตใช้งานเพลงจากตัวแทน Netflix ของคุณ
- การจัดการภาษาต่างประเทศและสำเนียง
- สำหรับเนื้อหาทางทีวีที่มีภาษาต่างประเทศประปรายตลอดรายการหรือมีความสำคัญต่อโครงเรื่อง จะมีการสร้างไฟล์ forced narrative สำหรับบทสนทนาภาษาต่างประเทศแทนการพากย์แบบ voice-over (เช่น ใน “Dirty Money” มีชาวแคนาดาที่พูดภาษาฝรั่งเศสปรากฏใน “The Maple Syrup Heist” ตลอดทั้งตอน ซึ่งแปลด้วย forced narrative)
- หากบทสนทนาภาษาต่างประเทศคิดเป็นประมาณ 40% หรือมากกว่าของ runtime (เช่น ใน “Chef’s Table”) ก็ควรพากย์บทสนทนานั้นแทนการใช้ forced narrative เพราะการใช้ forced narrative มากเกินไปจะทำให้ประสบการณ์การรับชมไม่ลื่นไหล
- อย่าเลียนแบบสำเนียงและ/หรือข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ที่ผู้พูดใช้เมื่อพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่ของตน โดยทั่วไปคุณควรหลีกเลี่ยงการใช้สำเนียง เพราะกลุ่มวัฒนธรรมและ/หรือกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มอาจมองว่า การใช้/เลียนแบบสำเนียงที่ผิดนั้นเป็นการกระทำที่ขาดจิตสำนึกถึงผู้อื่นหรือน่ารังเกียจ
- หากไม่แน่ใจว่าควรจัดการกับบทสนทนาภาษาต่างประเทศหรือสำเนียงอย่างไร โปรดติดต่อ Netflix เพื่อขอคำแนะนำ
การคัดเลือกเสียงและการแสดง
- Creative Director
- เราต้องการให้มีการดูแล/แนะนำแนวทางด้านงาน creative ระหว่างเซสชันการบันทึกการคัดเลือกเสียง ตามหลักการแล้วผู้กำกับการพากย์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเนื้อหานั้นๆ ควรจะต้องอยู่ด้วยในระหว่างการบันทึกเสียง แต่หากไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลเรื่องตารางเวลาที่ชนกันหรือสถานการณ์อื่นๆ เราขอให้ partner การพากย์ของเรามอบหมายให้ Creative Director ดูแลการบันทึกการคัดเลือกเสียงและไม่ปล่อยให้วิศวกรเสียงหรือเจ้าหน้าที่สตูดิโอเป็นผู้กำกับการอัดเสียง
- อายุและเพศ
- เป้าหมายคือเพื่อให้เวอร์ชันพากย์เสียงสะท้อนสิ่งที่ผู้ร่วมรายการ on-screen แสดงออกมาได้ใกล้เคียงมากที่สุด และเราต้องการให้คัดเลือกนักพากย์อย่างเหมาะสมเพื่อแสดงความเคารพต่อการแสดงต้นฉบับของผู้ร่วมรายการ on-screen เราแนะนำอย่างยิ่งให้ partner การพากย์ของเราเลือก talent ตามอายุและเพศที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเวอร์ชันต้นฉบับเพื่อให้ได้เสียงธรรมชาติที่ตรงกันมากที่สุด
- เสียงที่ตรงกันและการแสดง
- การได้นักพากย์ที่มีคุณสมบัติพร้อมทั้งด้านการแสดงและมีเสียงที่ตรงกันนั้นย่อมดีที่สุด แต่บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ เสียงที่ตรงกันนั้นสำคัญก็จริง แต่การสร้างประสบการณ์ที่สมจริงสำหรับผู้ชมคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง หากนักพากย์คนเดียวกันไม่สามารถให้ทั้งเสียงและการแสดงที่เหมือนกับต้นฉบับได้ เราจะให้ความสำคัญกับการแสดงที่ดีที่สุดก่อนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดให้แก่ผู้ชม ในกรณีเช่นนี้ทีมพากย์ของ Netflix จะให้คำแนะนำแก่ผู้กำกับการพากย์และ partner ตามความจำเป็น โดยที่อารมณ์และน้ำเสียงต้องตรงกับเวอร์ชันต้นฉบับ
-
- สารคดี: ใช้วิจารณญาณให้มากที่สุดเมื่อกำหนดน้ำเสียงและจังหวะของผู้พูด รวมถึงความเร็วและระยะเวลาที่จำเป็นสำหรับการแปล น้ำเสียงควรมีความคงเส้นคงวาและสมดุลเพื่อแสดงการให้เกียรติคอนเทนต์นั้นๆ
- คอนเทนต์ที่ไม่มีสคริปต์: ไตเติ้ลที่ไม่มีสคริปต์จำนวนหนึ่งอาจต้องใช้พลังในการแสดงมากกว่า เพราะเป็นลักษณะของคอนเทนต์นั้นๆ (เช่น รายการทำอาหาร การแข่งขัน) โปรดใช้วิจารณญาณให้มากที่สุดเมื่อกำหนดน้ำเสียงและจังหวะของผู้พูด
-
- การได้นักพากย์ที่มีคุณสมบัติพร้อมทั้งด้านการแสดงและมีเสียงที่ตรงกันนั้นย่อมดีที่สุด แต่บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ เสียงที่ตรงกันนั้นสำคัญก็จริง แต่การสร้างประสบการณ์ที่สมจริงสำหรับผู้ชมคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง หากนักพากย์คนเดียวกันไม่สามารถให้ทั้งเสียงและการแสดงที่เหมือนกับต้นฉบับได้ เราจะให้ความสำคัญกับการแสดงที่ดีที่สุดก่อนเพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดให้แก่ผู้ชม ในกรณีเช่นนี้ทีมพากย์ของ Netflix จะให้คำแนะนำแก่ผู้กำกับการพากย์และ partner ตามความจำเป็น โดยที่อารมณ์และน้ำเสียงต้องตรงกับเวอร์ชันต้นฉบับ
- เสียงพากย์ที่มีมาก่อน
- เราต้องการพิจารณาว่าจ้าง talent ที่เคยพากย์เสียงผู้ร่วมรายการในซีซั่นก่อนหรือในเนื้อหาทางทีวีที่เป็นคอนเทนต์ของ Netflix มาก่อนเสมอ หากนักพากย์เคยพากย์เสียงผู้ร่วมรายการ on-screen คนนั้นในเนื้อหาทางทีวีของเรา เราก็อยากให้ใช้เสียงนั้นในงาน production เว้นแต่ว่า Netflix จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
- การออกเสียงและการพากย์
- เราอยากให้บทสนทนาทั้งหมดสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจนเพื่อให้เข้าใจง่าย แต่เราก็ไม่ต้องการให้สิ่งนี้กระทบการพากย์ของนักพากย์ ดังนั้นแม้นักพากย์จะออกเสียงได้ไม่สมบูรณ์นักก็ไม่เป็นไร การออกเสียงควรเป็นธรรมชาติที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการพากย์ควรตรงกับการแสดงของผู้ร่วมรายการ on-screen
- ปฏิกิริยา
- ตามแนวทางการพากย์แบบ voice-over (VO) ของเรา คุณไม่จำเป็นต้องบันทึกเสียงปฏิกิริยาต่างๆ (เสียงหัวเราะ เสียงปฏิกิริยา เสียงร้องไห้ ฯลฯ) โปรดอย่าบันทึกเสียงอื่นที่ไม่ใช่บทสนทนา
การบันทึกเสียง
- พรีแอมป์
- คุณสามารถใช้พรีแอมป์แบบดิจิทัลหรืออนาล็อกได้ หากต้องการใช้แบบอนาล็อก โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีเสียงรบกวนเมื่อเพิ่ม gain ไปที่ระดับการบันทึกเสียงที่ต้องการ
- ไมโครโฟน
- เราแนะนำอย่างยิ่งให้ใช้ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์แบบ large-diaphragm จุดประสงค์คือเพื่อสร้างเสียงประเภทการบรรยาย และเรามองว่าไมโครโฟนประเภทนี้จะมอบประสบการณ์ที่เราต้องการสำหรับการพากย์สไตล์ voice-over (VO)
- DAW
- คุณสามารถใช้ DAW (digital audio workstation) สำหรับมืออาชีพรุ่นใดก็ได้ในท้องตลาด เราคาดหวังให้ partner การพากย์ของเราใช้ซอฟต์แวร์สำหรับมืออาชีพที่เหมาะสมกับขั้นตอนการทำงานของ partner และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านเทคนิค
- การประมวลผลก่อนการบันทึกเสียง
- เราแนะนำอย่างยิ่งว่าอย่าใช้ dynamic processor (EQ, Compression, Limiting, Noise-gate, De-Esser) ในการบันทึกเสียงเพื่อให้สามารถจับเสียงบทสนทนาได้สะอาดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และมีพื้นที่ให้ sound mixer สามารถปรับแต่งเสียงได้ตามความจำเป็น คุณสามารถใช้ฟิลเตอร์ Low cut ได้หากไม่เกิน 100Hz
การตัดต่อ
- เสียง
- คุณควรลบเสียงที่สามารถได้ยินได้ เช่น เสียงเดาะลิ้นและเสียงกลืนน้ำลาย ในขั้นตอนการตัดต่อ เว้นเสียแต่มีเสียงเหล่านี้ในการแสดงเวอร์ชันต้นฉบับ
- การปรับด้วยตนเองและการใช้ plug-in
- เราแนะนำให้ใช้ทั้งสองวิธี คุณสามารถใช้ plug-in กำจัดเสียงรบกวนได้ตราบใดที่กระบวนการนี้ไม่กระทบกับคุณภาพของเสียงที่บันทึก
- การซิงค์เสียง
-
- เราแนะนำให้ตัดต่อโดยใช้ตัวอย่างอ้างอิงของเสียงเพื่อให้ได้ยินเสียงต้นฉบับ 1-3 วินาทีก่อนบทสนทนาที่พากย์จะเริ่มต้นขึ้น บทสนทนาที่พากย์ควรจบพร้อมกับเวอร์ชันต้นฉบับ
-
- เสียงไล่ระดับ
- ตามหลักการแล้ว dialogue editor ควรใช้การ fade-in และ fade-out ในทุกบทสนทนา เสียงที่จับได้ เช่น เสียงสภาพบรรยากาศของห้องหรือ pre-amp gain อาจจะไม่ได้ยินในระหว่างขั้นตอนการบันทึกและตัดต่อ แต่อาจกลายเป็นเสียงรบกวนที่ไม่พึงประสงค์ในระหว่างกระบวนการมิกซ์เสียง
การมิกซ์
- ระดับของบทสนทนา
- ระดับเสียงของเวอร์ชันพากย์เสียงควรตรงกับระดับเสียงของเวอร์ชันต้นฉบับ หากปฏิบัติตามแนวทางการบันทึกและการตัดต่อ sound mixer จะไม่จำเป็นต้องเพิ่มเสียงบทสนทนาที่พากย์ให้ดังกว่าเวอร์ชันต้นฉบับ เพื่อให้บทสนทนามีความสม่ำเสมอและสมดุล เราแนะนำให้ sound mixer ใช้ตัวควบคุมการมิกซ์เสียง (mixing controller) หรือคอนโซลสำหรับการปรับระดับอัตโนมัติแทนการใช้ตัวประมวลผลแบบไดนามิกใดๆ ที่อาจส่งผลต่อเสียงตามธรรมชาติที่เราต้องการ
- การประมวลผลแบบไดนามิก
- EQ
-
- การปรับเสียงคือวิธีการกำจัดหรือทำให้คลื่นความถี่ที่ไม่ต้องการเบาลง และ/หรือเพิ่มคลื่นความถี่ที่ต้องการในบทสนทนา เราไม่ควรมองว่าการปรับเสียงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ทดแทนการบันทึกเสียงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนั้นเราจึงขอให้ sound mixer ไม่ใช้การปรับเสียงเพื่อวัตถุประสงค์นี้มากจนเกินไป
-
- การ Compress
-
- การ Compress นั้นสามารถทำได้ตราบใดที่ไม่กระทบกับไดนามิกของบทสนทนามากนัก สิ่งที่เราต้องการคือให้บทสนทนาฟังดูเป็นธรรมชาติ และเราขอแนะนำให้ sound mixer ปรับระดับให้สมดุลกับระบบเสียงอัตโนมัติก่อนใช้วิธีการ Compress
-
- Futz
-
- ในกรณีที่พิเศษมากๆ เราจะขอให้ partner ของเราเพิ่มเอฟเฟกต์แบบ futz สำหรับคอนเทนต์สารคดีที่มีไฟล์วิดีโอต้นฉบับ (เช่น การออกอากาศทางโทรทัศน์/วิทยุ) ที่มีโครงเรื่องขยายพิเศษ หรือมีเอฟเฟกต์ที่ปิดบังตัวตนของผู้ร่วมรายการ ฯลฯ เมื่อมีการขอ futz สำหรับการพากย์แบบ voice-over (VO) เราคาดหวังว่า sound mixer จะจับคู่ futz ให้ใกล้เคียงกับในเวอร์ชันต้นฉบับ (OV) ให้มากที่สุด
-
- EQ
- Print Master (การเบาเสียง)
- คุณควรใช้แทร็ค PM ที่เราจัดหาให้สำหรับการมิกซ์ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการมิกซ์การพากย์แบบ voice-over (VO) คือการเบาเสียงต้นฉบับเพื่อให้ผู้ชมสามารถฟังบทสนทนาที่พากย์ได้ คุณควรเบาเสียงก็ต่อเมื่อมีบทสนทนาที่พากย์เท่านั้นและควรจะแนบเนียนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อไม่ให้รู้สึกว่ามีเสียงในแทร็คเสียงหายไป คุณสามารถใช้ plugin แบบ gate/side-chain ได้ตราบใดที่ช่วงเปลี่ยนผ่านนั้นราบรื่นและไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกสะดุด
- Optional track
- สำหรับบางไตเติ้ล ทีมพากย์จะจัดหา optional track สำหรับคอนเทนต์สารคดีให้ เราแนะนำให้ partner การพากย์ของเราใช้ optional track ตามดุลยพินิจ ตราบใดที่บทสนทนาที่บันทึกไว้สามารถผสมผสานกับ optional track ที่จัดหาให้ได้อย่างแนบเนียน ทีมพากย์ของ Netflix จะมีคำสั่งชี้แนะด้าน creative และด้านเทคนิคให้ในกรณีที่ควรใช้ optional track เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ
- การบรรยายแบบ Mix-Minus
- หากไม่ได้มีคำสั่งพิเศษ โปรดอย่าลบ stem ของผู้บรรยาย/ใช้แทร็ค mix-minus เช่น ในสารคดีผู้บรรยายมักจะเล่าเรื่องของตัวเอง (ในฐานะผู้เล่าแบบบุคคลที่ 1) และการเก็บเสียงผู้บรรยายไว้จะช่วยรักษาความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์นั้นๆ ซึ่งสิ่งนี้ต่างจากฟังก์ชันผู้บรรยายแบบบุคคลที่ 3 เป็นอย่างมากที่สามารถใช้เสียงท้องถิ่นแทนได้
- เสียงปี๊บๆ
- อย่าใส่เสียงปี๊บๆ ใน voice-over ให้เก็บเสียงปี๊บๆ ไว้ในมิกซ์ต้นฉบับเพื่อสื่อถึงเจตนารมณ์ทางความคิดสร้างสรรค์
ตัวอย่าง
- หากวิธีการตัดต่อตัวอย่างทำให้เก็บเอฟเฟกต์ดีเลย์ 1-2 วินาทีได้ยาก คุณสามารถซิงค์การพากย์แบบ voice-over กับบทสนทนาต้นฉบับได้
- หากวิธีการตัดต่อตัวอย่างทำให้การพากย์แบบ voice-over ไม่ราบรื่น โปรดติดต่อตัวแทน Netflix ของคุณเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด
- สไตล์การพากย์ (เช่น การพากย์แบบ voice-over (VO) สำหรับการสัมภาษณ์ ลิปซิงค์สำหรับการพากย์ ฯลฯ) ควรเหมือนกับคอนเทนต์แบบเต็ม
- เสียงพากย์ไม่ควรทับไฟล์วิดีโอต้นฉบับและบทสนทนาภาษาต่างประเทศ (หรือบทสนทนาในภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาต้นฉบับ) กรณีเหล่านี้จะถูกพากย์ทับด้วย forced narrative และหากจำเป็นต้องจัดการด้วยวิธีอื่นจะมีคำแนะนำให้
แหล่งข้อมูล
- แหล่งข้อมูลสำหรับเสียงพากย์ (สำหรับแนวทางการพากย์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด)
- คู่มือแนะนำสำหรับเสียงพากย์ - การพากย์สไตล์ voice-over (VO)
- คู่มือแนะนำสำหรับเสียงพากย์ - การพากย์แบบ Lector (การพากย์ที่ใช้ผู้พากย์เล่าเรื่องเพียงคนเดียว)
- คู่มือแนะนำสำหรับเสียงพากย์ - การพากย์สไตล์ voice-over (VO) - ภาษารัสเซีย
- แนวทางปฏิบัติที่แนะนำสำหรับ localization (คอนเทนต์สารคดี)
- แหล่งข้อมูลสำหรับซับไตเติล (สำหรับการทำซับไตเติล คำบรรยายแทนเสียง และแนวทางสำหรับแต่ละภาษา)
ชุมชนศูนย์ช่วยเหลือ Partner (หัวข้อต่างๆ รวมถึงการจัดการกับหัวข้อที่ละเอียดอ่อน - จำเป็นต้องล็อกอินเข้าระบบ)